วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์


         มณีรัตน์ สุดเต้ (2557) ได้กล่าวว่า นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาตินแปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย

          นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย

          ประเภทของนวัตกรรมการศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 "การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ" การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ    
          1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
          2. นวัตกรรมการเรียนการสอน
          3. นวัตกรรมสื่อการสอน
          4. นวัตกรรมการประเมินผล
         
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ


- นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร
         
นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้
         
1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม
         
2. หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ
         
3. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น
         
4. หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง


- นวัตกรรมการเรียนการสอน
         
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

- นวัตกรรมสื่อการสอน
         
เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่
          - คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
         
- มัลติมีเดีย (Multimedia)
         
- การประชุมทางไกล (Teleconference)
         
- ชุดการสอน (Instructional Module)
         
- วีดีทัศน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Video)


- นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล
         
เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่
         
- การพัฒนาคลังข้อสอบ
         
- การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต
         
- การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา
         
- การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด


- นวัตกรรมการบริหารจัดการ
         
เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการ ตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา 

ลักษณะของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ดี

          1.  มีลักษณะแปลกใหม่ ยังไม่เคยมีใครประดิษฐ์คิดค้นมาก่อน
         
2.  มีความทันสมัย และล้ำสมัย เพราะคิดค้นขึ้นมาใหม่
         
3.  มีคุณภาพ สามารถแก้ไขปัญหาได้ตามเป้าหมาย
         
4.  มีคุณค่าต่อวงการศึกษา
         
5.  สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง
          6.  จัดทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก           
         
7.  ไม่ใช้วัสดุราคาแพง แต่ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น
         
8.  มีความสะดวก ใช้ง่าย ไม่สลับซับซ้อน
         
9.  มีลักษณะคงทน
         
10.  สามารถจัดเก็บได้ง่าย           
         
11.  มีลักษณะสอดคล้อง คือสอดคล้องกับเนื้อหาหรือเรื่องที่ต้องการแก้ไข           
         
12.  เป็นสื่อมีชีวิต ไม่ตาย มีลักษณะเคลื่อนไหว กระตุ้นและเร้าความสนใจได้จริง

ประโยชน์ของนวัตกรรมการเรียนการสอน

         
1.  เป็นเครื่องอำนวยความสะดวกให้ครูสอนเนื้อหาให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
         
2.  เป็นเครื่องช่วยร่นเวลาการสอนให้สั้นลง
         
3.  ช่วยให้นักเรียนเข้าใจง่ายขึ้น
         
4.  ช่วยทำเรื่องที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรม
         
5.  ช่วยทำเรื่องยากให้เป็นง่าย
         
6.  ช่วยกระตุ้น และเร้าความสนใจให้กับนักเรียนมากขึ้น
         
7.  ช่วยให้การเรียนเนื้อหาง่ายขึ้น
         
8.  นักเรียนประสบความสำเร็จจากการเรียนมากขึ้น
         
9.  ช่วยให้นักเรียนไม่เบื่อในการเรียน
         
10.  ช่วยให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียน
         
11.  เป็นเครื่องยืนยันถึงการพัฒนาตนเองของครู
         
12.  เป็นเกราะกำบังตนเองของครูได้อย่างดี
         
13.  เป็นตัวชี้วัดถึงคุณภาพของครูได้เป็นอย่างดี

ตัวอย่างการนำนวัตกรรมทางการศึกษามาประยุกต์ใช้กับการสอนคณิตศาสตร์

โปรแกรม Geometer’s Sketchpad (GSP)
          เป็นโปรแกรมคณิตศาสตร์ที่ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพโปรแกรมหนึ่ง สามารถนำไปใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ได้หลายวิชา เช่น วิชาเรขาคณิต พีชคณิต ตรีโกณมิติ และแคลคูลัสโปรแกรม GSP เป็นสื่อเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้เรียน มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์โดยการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructivist Approach) และเป็นการเรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Learner-Centered Learning)
          ดังนั้นจุดเด่นของโปรแกรม
GSP จึงเป็นสื่อที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาทักษะของการนึกภาพ (Visualization) ซึ่งจะเปลี่ยนวิชาคณิตศาสตร์จากนามธรรมให้กลายเป็นรูปธรรม ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจวิชาคณิตศาสตร์ได้มากขึ้น




          Uraiwan (2553) ได้กล่าวว่า สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน

         
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้ ยุพิน พิพิธกุล (2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
         
1. ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
         
2. เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
         
3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
         
4. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
         
5. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
         
6. การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

         
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้

          1. วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
                  
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
                  
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
                  
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
                  
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ


          2. อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ

          3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา

          4. สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์

          สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
          2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ




          กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ (2558) ได้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้

สื่อ
          คำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium") คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ 
ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม"
          สรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง  สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ 
ตามวัตถุประสงค์ซึ่งรวมถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัว

นวัตกรรม

          นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


           นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)

              คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation)

          สรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาหรือต่อยอดจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่านวัตกรรมการศึกษา

การนำสื่อและนวัตกรรมการมาจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

         
การใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหปจจุบัน จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาใชในการปฏิรูปการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนหรือเป็นสำคัญ เปนการเปลี่ยนบทบาทของผูเรียนจากผู้รับแต่ฝ่ายเดียวมาเป็นผู้กระตือรือร้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในการเรียน ขณะเดียวกันผู้สอนย่อมเปลี่ยนจากเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนมาเป็นผู้ คอยชี้แนะ ผูสนับสนุนให้ความร่วมมือ และบางครั้งจะเป็นผู้เรียนรูร่วมไปกับผู้เรียนด้วย (กิดานันท มลิทอง, 2548, หนา 12-16) และในยุคปัจจุบันมีผู้คิดคนนวัตกรรมใหม่มากมาย เพื่อตอบสนองต่อผู้เรียน เช่น ชุดการสอน สื่อต่าง อีกทั้ง คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปไดในทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงใหแกผูเรียน ทําใหมีการใชการสอนใชคอมพิวเตอร์ช่วย (computer-assistedinstruction : CAI) ที่เรียกกันวา คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ ซีเอไออยางแพรหลาย ลักษณะบทเรียนซีเอไอไดอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหวางสิ่งเรากับการตอบสนองซึ่งพัฒนามาจากบทเรียนแบบโปรแกรมนั่นเอง โดยผูเรียนสามารถเรียนรูจากโปรแกรมบทเรียนรูปแบบต่างๆ  ไดแก การสอน การฝึกหัด การจําลอง เกมเพื่อการสอน การค้นพบ การแกปญหา และเสียง ประกอบในลักษณะของสื่อประสม (multimedia) และสื่อหลายมิติ (hypermedia) ทำให้ผู้เรียนสนุกไมเบื่อหนายในการเรียน



สรุป

จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์สรุปได้ว่า
          นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อนหรือการพัฒนาหรือต่อยอดจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้น และเมื่อนำมาใช้งานก็ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการศึกษาเราก็เรียกว่า
นวัตกรรมการศึกษา

          นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น

          ประเภทของการใช้นวัตกรรมการศึกษาในประเทศไทย แบ่งออกได้ 5 ประเภท คือ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร  นวัตกรรมการเรียนการสอน  นวัตกรรมสื่อการสอน  นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล และนวัตกรรมการบริหารจัดการ

          สื่อ หมายถึง  สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนิดไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ซึ่งรวมถึงมนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบๆ ตัว

          สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะ
และประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

          ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  แบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ
                   1. วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
                      
- วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์                   
                      
- วัสดุประดิษฐ์                 
                       - วัสดุถาวร
                       - วัสดุสิ้นเปลือง
                   2. อุปกรณ์  เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
                   3. กิจกรรม  เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การศึกษานอกสถานที่
                   4. สิ่งแวดล้อม  เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน


ที่มา:
มณีรัตน์ สุดเต้. (2557). http://modfourza.wixsite.com/maneerat/events. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่
       22 สิงหาคม 2561.
Uraiwan. (2553). https://teaching-maths3.blogspot.com/2010/07/blog-post_1999.html?m=1. 
       [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561.
กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ. (2558). https://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html?m=1. 
       [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561.

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง


          ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้กล่าวว่า เพลง หมายถึง บทประพันธ์ที่มีทำนองใช้ขับร้อง หรืออาจจะมีดนตรีประกอบด้วยซึ่งเพลงเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของคนทุกชาติ เป็นสิ่งจรรโลงใจทำให้บุคคลเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ง่ายที่สุด (วิจิตรา เจือจันทร์, 2533 : 28) ซึ่งผู้สอนสามารถนำมาเป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมในการจัดการเรียนการสอนได้

ทฤษฎี / แนวคิด
          เพลงมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด เช่น เพลงกล่อมเด็ก นอกจากนี้ยังมีเพลงที่แต่งไว้สำหรับเด็กๆ ร้องเกี่ยวกับสัตว์บ้าง เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยบ้าง เกี่ยวกับโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันสงกรานต์วันเกิด วันคริสต์มาส เป็นต้น เพลงแต่ละเพลงจะมีลีลาและท่วงทำนองที่ต่างกันทั้งน้ำเสียงและความรู้สึกของผู้ร้อง  ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามและสนุกสนาน ซึ่งในปัจจุบันได้นำเพลงมาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ว่าจากงานวิจัยเทปเพลงการศึกษาเกี่ยวกับเด็ก
          เพลงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ฟัง ให้ความบันเทิงและลดความเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ ซึ่งเพลงมีบทบาทต่อชีวิตของคนเรา เพลงกับชีวิตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เสียงเพลงเกิดจากการสร้างสรรค์ของคน นักการศึกษาที่ชาญฉลาดจึงนำเพลงมาเป็นสื่อในการศึกษา ทั้งที่เป็นสื่อหลักและสื่อเสริมพลังที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอน

ประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้
          1 เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน ลดความตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียน  หล่อหลอมลักษณะนิสัย จิตใจ ของนักเรียนให้อ่อนโยน
          2 เพลงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บุคลิกภาพและด้านสังคมของนักเรียน
          3 การเข้าสู่บทเรียน สรุปบทเรียนหรือทบทวนบทเรียน เพลงช่วยย้ำสิ่งที่เรียนไปแล้ว เช่น คำศัพท์

รูปประโยค กฏไวยากรณ์บางเรื่อง เช่น เช่นเกี่ยวกับกาล (tense)  ต่าง ๆ เป็นต้น  นอกจากนี้ในเพลงจะมีคำที่เป็นแสลง (slang) เป็นสำนวน (idioms)  ซึ่งเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน
          4 เพลงช่วยพัฒนาทางภาษา ซึ่งเป็นการฝึกการฟังให้เข้าใจข้อความในเนื้อเพลงพร้อมทั้งเป็นการฝึกการออกเสียง เชื่อมคำ และจังหวะไปในตัว ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถร้องเพลงได้ จึงเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและช่วยส่งเสริมให้การเรียนดีขึ้น
 
         5 เพลงให้ความรู้หลากหลายแก่นักเรียน เช่น วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ วันสำคัญ เป็นต้น โดยอาจใช้เพลงเป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนา หรืออภิปรายเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเพลง

          สรุปได้ว่า เพลงมีประโยชน์ทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพ สังคมและการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน นักเรียนได้รับความรู้จากเพลงและเรียนจากเพลงด้วยความสนุกสนาน ดังนั้นครูจึงนำเพลงไปสอดแทรกได้เกือบทุกวิชา

แนวทางการจัดการเรียนรู้

          กิจกรรมการใช้เพลงในการเรียนการสอน
          เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539 : 52)  ได้เสนอแนะให้ผู้สอนว่าควรใช้เพลงเป็นเครื่องมือเพิ่มพูนประสบการณ์ 
โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
          1 เล่าเรื่อง หรือเล่าเรื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับเพลง
          2 เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง
          3 ดัดแปลงเนื้อหาเป็นบทสนทนาสั้นๆ
          4 นำแบบประโยคในเพลง หรือนำประโยคดี ๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างทางไวยากรณ์
 
         5 หาคำใหม่มาแทนในเพลง หรือนำประโยคดี ๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างของไวยากรณ์
          6 แสดงท่าทางประกอบจังหวะ
          7 สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงเหมือนกับ ถาม-ตอบ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ
          8 เขียนเนื้อเพลงลงสมุด

          ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน
          ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้
  (วราภรณ์ วราธิพร. 2543 : 21)  
          1 ทบทวนหรือแนะนำโครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฏอยู่ในเพลง หรืออธิบายเนื้อหาของเพลงโดยใช้ทัศนอุปกรณ์
(visual Aids) หรือแสดงท่าทาง (action) และคำที่พ้องรูปหรือพ้องเสียง ตลอดจนคำที่สัมพันธ์กัน
          2 เปิดเพลง 1 รอบครั้งแรก เพื่อให้นักเรียนคุ้นเคย
          3 ก่อนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนเห็นเนื้อเพลงทั้งหมด ควรนำเสนอเพลงทีละบรรทัดร้องแต่ละบรรทัดและให้นักเรียนร้องตาม ควรบันทึกเพลงทิ้งช่วงแต่ละบรรทัด
          4 แจกเนื้อเพลงให้กับนักเรียน เปิดเพลงอีกครั้งตั้งแต่ต้น ในช่วงแรกให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงตามเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับจังหวะ ทำนอง จากนั้นเปิดเพลงหลาย ๆ ครั้ง และชักชวนให้นักเรียนร้องเพลงด้วย

          5 หลังจากที่นักเรียนสามารถจัดทำนองเนื้อเพลงได้แล้ว นักเรียนก็สามารถร้องไปกับดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะได้ ในช่วงแรกนักเรียนควรร้องเป็นกลุ่ม เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้นจึงให้ร้องเป็นคู่ หรือร้องเดี่ยว การใช้ดนตรีไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะนั้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น ให้นักเรียนแต่งเนื้อร้องเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
          6 นำเนื้อร้องมาสร้างกิจกรรม เปิดโอกาสให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพลง
 
เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539 : 105-106) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสอนเพลง มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ 

          1 การเลือกเพลง การเลือกเพลงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเพลงที่ใช้ในการเรียนไม่เหมาะสมผู้เรียนจะขาดความสนใจ ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จ ในการเลือกเพลงจะต้องคำนึงถึง
                   1.1 ระดับชั้น วัย และความสามารถของผู้เรียน
                   1.2 ความไพเราะ จังหวะของเพลง ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป
                   1.3 ภาษาไม่ยาก คำที่อยู่ในเพลงชัดเจน และมีความหมาย
                   1.4 เป็นเพลงที่ผู้ฟังฟังแล้วเกิดความรู้สึก และจินตนาการใกล้เคียงกัน สามารถร้องตามได้ 

          2 การดำเนินการสอน การดำเนินการสอนมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งสามารถปรับแต่งให้เข้ากับบรรยากาศของชั้นเรียนได้ ดังนี้
                   2.1 แต่เนื้อเพลงแล้วอธิบายศัพท์ สำนวนหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่จำเป็น
                   2.2 เปิดเพลงให้ฟังเป็นครั้งที่ 2 ถ้าต้องการให้ผู้เรียนทำท่าประกอบหรือร้องตาม  

                   2.3 ถามคำถามทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะ ฟัง พูด เช่น
                             2.3.1 รู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้
? (มีความสุข โกรธ ว้าเหว่ เสียใจ)
                             2.3.2 เพลงนำเสนอเกี่ยวกับอะไร
? (ความรัก สงคราม ความเข้าใจผิด) 

          3 การประเมินผล
                   3.1 เก็บเนื้อเพลงที่แจกไปครั้งแรกคืนมา แล้วแจกเนื้อเพลงที่ผู้สอนเตรียมเว้นคำที่เหมาะสมว่างไว้
 เพื่อให้นักเรียนเติมขณะที่เปิดเพลงให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง
                   3.2 ถามคำถามจากเนื้อหาของเพลง คำถามนี้อาจเป็นคำตอบปากเปล่า หรือแบบให้เลือกตอบ (
multiple choices) หรือแบบเติมคำหรือข้อความให้สมบูรณ์ (completion)
                   3.3 อาจเป็นคำถามปลายเปิด (
open-ended questions) เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น นักเรียนทุกคนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน โดยไม่มีการตัดสินว่าความคิดเห็นของนักเรียนคนใดผิดหรือของคนใดถูก และผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยควบคุมชั้นเรียนเท่านั้น

ข้อค้นพบจากการวิจัย
          การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง มีข้อค้นพบจากการวิจัย ดังนี้

          1 การฟังและการออกเสียง Sumie (2001) ได้นำเพลงไปใช้กับนักเรียนอาชีวะที่ต้องการสอบภาษาอังกฤษเพื่อรับใบประกาศทางภาษา  TOEIC พบว่า การฟังเพลงเป็นวิธีการที่ดีในการฝึกฟัง เพื่อการออกเสียงให้ถูกต้อง นอกจากนี้เพลงยังเป็นสื่อที่กระตุ้นให้นักเรียนต้องการเรียนภาษาอังกฤษจากการฟังเพลงและเรียนด้วยความสนุกสนาน ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้าที่ไม่ได้ใช้เพลง 

          2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการสอน พันธ์ศรี สิทธิชัย (
2529 : 46) ได้วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่โรงเรียนโดยใช้เพลงประกอบการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติเชิงนิมานต่อการสอนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบการสอน สุปราณี กัลปนารถ (2533 : 40) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้บทเพลงประกอบการสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนภาษาไทยโดยไม่ใช้เพลงประกอบการสอน และรองเนือง ศุขมิติ (2537 : 47) ได้ศึกษาผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่สอนโดยใช้เพลงเสริม มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนที่สอนตามคู่มือครูอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

          3 แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการฟังและการพูด วิราภรณ์ วราธิพร (
2543 : 47) ได้ศึกษาการใช้เพลงประกอบการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โปรแกรมสองภาษา พบว่า นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยการใช้เพลงประกอบการสอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ความสามารถด้านการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24



          ณัฐพร ขุนเศรษฐ์ (2553) ได้กล่าวว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง หรือทำนองดนตรี และเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟังเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน

          1. เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
          2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
          3. เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
          4. เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

ประโยชน์ของเพลงประกอบการเรียนการสอน

          1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
          2. ช่วยให้บทเรียนที่ดูยากดูง่ายขึ้น
          3. จดจำเนื้อหาที่เรียนได้นาย
          4. สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน
          5. ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจ
          6. สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้
          7. เสริสร้างระเบียบวินัย
          8. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน

ลักษณะของเพลงประกอบการสอน

          1. เป็นทำนองเพลงลูกทุ่งที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องติดปากแล้ว
          2. แต่งเป็นบทร้อยกรองกลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11 แล้วนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงไทยเดิม
ที่สนุกสนาน

          3. มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
          4. เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อร้องสั้นๆ ไม่ยาวจนเกินไป
          5. เน้นความไพเราะสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนไม่ให้เคร่งเครียด
          6. หลังจากร้องเพลงเสร็จแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนือหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง

          การใช้เพลงประกอบการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาของบทเพลงที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการของนักเรียน ศิริพร หงส์พันธ์ (2540 : 257-256 ) กล่าวว่า ในต่างประเทศมีผู้ให้ความเห็นว่า เด็กจะรู้สึกสนุกสนานที่ได้ร้องเพลง ดังต่อไปนี้
          1. บทเพลงเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียง
          2. บทเพลงเกี่ยวกับคน โดยเฉพาะเพลงที่เด็กๆ สามรถเติมชื่อของตนเอง หรือชื่อของเพื่อนๆลงไปได้
          3. บทเพลงที่เด็กได้มีโอกาสได้ปรบมือ ทำจังหวะ และแสดงท่าทางต่างๆ
          4. บทเพลงที่กำลังเป็นที่นิยม ซึงได้ยินจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือ จากการชมภาพยนตร์
          5. บทเพลงเกี่ยวกับราชการเทศบาล ฤดูกาล และวันพักผ่อนต่างๆ

เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน

          1. การใช้นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการจูงใจและหันเหความสนใจของนักเรียนให้มาสู่บทเรียนที่ครูกำลังจะสอน เช่น จะสอนเรื่องอักษร ควรนำด้วยเพลงอักษรย่อรอเธอ เป็นเพลงที่ดัดแปลงมาจากเพลงลูกทุ่งรักห้าปี
          2. การใช้เพลงดำเนินการสอน จะใช้เพลงเป็นตัวหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
          3. การใช้เพลงในการสรุปบทเรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนเป็นการย้ำซ้ำเตือนอีกครั้งหนึ่ง เช่น ได้สอนเรื่องชนิดของคำไปแล้วต้องสรุปเนื้อหา ก็ใช้เพลงคำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน เป็นต้น
          4. ใช้เพลงสำหรับฝึก ซึ่งจะเป็นการฝึกให้ออกเสียงหรือย้ำให้เกิดความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง เช่นการสอนคำใหม่
          5. ใช้เพลงในการวัดและการประเมินผล โดยการใช้เพลงเป็นส่วนประกอบในการวัด เช่น นักเรียนเรียนเรื่องคำซ้อน ซึ่งนอกจากจะใช้เพลงคำซ้อนในการสรุปเนื้อแล้ว ก็ยังสามารถใช้เพลงนั้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย



         ธีรพร เว้นชั่ว (2558) ได้กล่าวว่า การใช้เพลงประกอบการสอน หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟัง เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน

          1. เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
          2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
          3. เพื่อสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
          4. เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

ลักษณะของเพลงประกอบการสอน

          1. เป็นทำนองเพลงที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องจนติดปากแล้ว
          2. บทเพลงที่นักเรียนมีโอกาสปรบมือ ทำจังหวะ และท่าทางต่างๆ
          3. แต่งเป็นบทร้อยกรอง กลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11
          4. บทเพลงเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียน หรือเกี่ยวกับคน
          5. เน้นความไพเราะสนุกสนาน
          6. มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
          7. มีเนื้อหาที่ไม่หยาบคาย
          8. เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อหาสั้น ๆ ไม่ยาวจนเกินไป
          9. สนุกสนาน กระตุ้นและเร้าใจ
          10. หลังจากร้องเพลงจบแล้ว จะมีการอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง

ประโยช์ของเพลงประกอบการสอน 

          1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
          2. ช่วยให้บทเรียนที่ดูยากดูง่ายขึ้น
          3. จดจำเนื้อหาที่เรียนได้นาน
          4. สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน
          5. ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจ
          6. สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้        
          7. เสริมสร้างระเบียบวินัย
          8. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน

เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน
          ในการใช้เพลงประกอบการสอนนั้น ครูอาจจะใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นทำกิจกรรมการเรียนการสอน หรือขั้นสรุปก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของครู และในการร้องเพลงครูอาจเป็นคนร้องหรือให้นักเรียนร้อง หรือเปิดเทปบันทึกเสียงให้ฟังก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมสนทนาถึงสาระสำคัญของเนื้อเพลง หรือข้อคิดข้อเตือนใจที่ได้จากเพลง หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากที่ได้ฟังเพลงแล้วด้วยก็ได้

ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน

          1. จัดเตรียมเพลงที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
          2. เริ่มบทเรียนก่อนหรือให้ผู้เรียนฟังเพลงก่อน เพื่อเร้าความสนใจ
          3. เริ่มการฝึกผู้เรียนให้ร้องเพลง ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อเพลง และร้องตามได้
          4. ให้ผู้เรียนร้องเพลงร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเสริมแรงการเรียนรู้
          5. ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นจากเพลง เกิดความสนุกสนานตรงตามเป้าหมาย



สรุป
          จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง ครูสามารถใช้ได้ทั้งในขั้นตอนนําเข้าสู่บทเรียนดำเนินการสอน การให้ผู้เรียนปฏิบัติ สรุปบทเรียน และการวัดผลการเรียนรู้ ซึ่งครูจะต้องเลือกเพลงให้เหมาะสมกับแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอน ในการสอนนักเรียนให้ร้องเพลงนั้น ต้องไม่คาดหวังสูงเกินไป
ว่านักเรียนจะร้องเพลงได้ดีเหมือนกันทุกคน และควรเป็นเพลงที่เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเห็นในชีวิตประจำวัน หรือเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเอง โดยครูร้องให้ฟังก่อน 1-2 เที่ยว เพื่อให้นักเรียนได้ฟังทำนองจังหวะ เนื้อร้อง หรือจับเค้าเพลงที่ร้องให้ได้ก่อน แล้วให้นักเรียนร้องตามทีละวรรค จากนั้นครูต้องร้องพร้อมกับนักเรียนจนกระทั่งนักเรียนร้องได้ด้วยตัวเอง และอาจใช้เทปช่วยในการสอนร้องเพลง นอกจากนี้ครูใช้ท่าทาง น้ำเสียง และอารมณ์ที่สอดคล้องกับบทเพลงรวมทั้งควบคุมจังหวะเพลง โดยการปรบมือหรือตีกลอง



ที่มา:
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้ที่ 2).   
       กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ณัฐพร ขุนเศรษฐ์. (2553). http://tang49e101050.blogspot.com/p/blog-page_6581.html. [ออนไลน์] 

        เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561.
ธีรพร เว้นชั่ว. (2558)https://www.slideshare.net/PrincessMind/ss-53694940. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 
       22 สิงหาคม 2561.



         


นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

           มณีรัตน์ สุดเต้ ( 2557)   ได้กล่าวว่า นวัตกรรม ( Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาตินแปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความ...