วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561

การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง


          ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553) ได้กล่าวว่า เพลง หมายถึง บทประพันธ์ที่มีทำนองใช้ขับร้อง หรืออาจจะมีดนตรีประกอบด้วยซึ่งเพลงเป็นศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของคนทุกชาติ เป็นสิ่งจรรโลงใจทำให้บุคคลเกิดอารมณ์คล้อยตามได้ง่ายที่สุด (วิจิตรา เจือจันทร์, 2533 : 28) ซึ่งผู้สอนสามารถนำมาเป็นสื่อหลักหรือสื่อเสริมในการจัดการเรียนการสอนได้

ทฤษฎี / แนวคิด
          เพลงมีความสัมพันธ์กับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด เช่น เพลงกล่อมเด็ก นอกจากนี้ยังมีเพลงที่แต่งไว้สำหรับเด็กๆ ร้องเกี่ยวกับสัตว์บ้าง เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยบ้าง เกี่ยวกับโอกาสและเทศกาลต่าง ๆ เช่น วันสงกรานต์วันเกิด วันคริสต์มาส เป็นต้น เพลงแต่ละเพลงจะมีลีลาและท่วงทำนองที่ต่างกันทั้งน้ำเสียงและความรู้สึกของผู้ร้อง  ซึ่งทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามและสนุกสนาน ซึ่งในปัจจุบันได้นำเพลงมาใช้ในการเรียนการสอนเพิ่มมากขึ้น เห็นได้ว่าจากงานวิจัยเทปเพลงการศึกษาเกี่ยวกับเด็ก
          เพลงมีความสำคัญต่อจิตใจของผู้ฟัง ให้ความบันเทิงและลดความเครียด ผ่อนคลายอารมณ์ทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียภาพทางอารมณ์ ซึ่งเพลงมีบทบาทต่อชีวิตของคนเรา เพลงกับชีวิตมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมนุษย์มาตั้งแต่เกิด เสียงเพลงเกิดจากการสร้างสรรค์ของคน นักการศึกษาที่ชาญฉลาดจึงนำเพลงมาเป็นสื่อในการศึกษา ทั้งที่เป็นสื่อหลักและสื่อเสริมพลังที่ครูนำมาใช้ในการเรียนการสอน

ประโยชน์ของเพลงในด้านกิจกรรมการเรียนการสอนมี ดังนี้
          1 เพลงช่วยสร้างบรรยากาศในการเรียนให้สนุกสนาน ลดความตึงเครียดระหว่างครูกับนักเรียน  หล่อหลอมลักษณะนิสัย จิตใจ ของนักเรียนให้อ่อนโยน
          2 เพลงช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ บุคลิกภาพและด้านสังคมของนักเรียน
          3 การเข้าสู่บทเรียน สรุปบทเรียนหรือทบทวนบทเรียน เพลงช่วยย้ำสิ่งที่เรียนไปแล้ว เช่น คำศัพท์

รูปประโยค กฏไวยากรณ์บางเรื่อง เช่น เช่นเกี่ยวกับกาล (tense)  ต่าง ๆ เป็นต้น  นอกจากนี้ในเพลงจะมีคำที่เป็นแสลง (slang) เป็นสำนวน (idioms)  ซึ่งเป็นภาษาพูดในชีวิตประจำวัน
          4 เพลงช่วยพัฒนาทางภาษา ซึ่งเป็นการฝึกการฟังให้เข้าใจข้อความในเนื้อเพลงพร้อมทั้งเป็นการฝึกการออกเสียง เชื่อมคำ และจังหวะไปในตัว ทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจที่สามารถร้องเพลงได้ จึงเป็นการปลูกฝังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนและช่วยส่งเสริมให้การเรียนดีขึ้น
 
         5 เพลงให้ความรู้หลากหลายแก่นักเรียน เช่น วัฒนธรรม สถานที่สำคัญ วันสำคัญ เป็นต้น โดยอาจใช้เพลงเป็นจุดเริ่มต้นในการสนทนา หรืออภิปรายเนื้อหาที่บรรจุอยู่ในเพลง

          สรุปได้ว่า เพลงมีประโยชน์ทางด้านอารมณ์ บุคลิกภาพ สังคมและการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนการสอน นักเรียนได้รับความรู้จากเพลงและเรียนจากเพลงด้วยความสนุกสนาน ดังนั้นครูจึงนำเพลงไปสอดแทรกได้เกือบทุกวิชา

แนวทางการจัดการเรียนรู้

          กิจกรรมการใช้เพลงในการเรียนการสอน
          เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539 : 52)  ได้เสนอแนะให้ผู้สอนว่าควรใช้เพลงเป็นเครื่องมือเพิ่มพูนประสบการณ์ 
โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
          1 เล่าเรื่อง หรือเล่าเรื่องที่สร้างขึ้นมาใหม่เกี่ยวกับเพลง
          2 เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเพลง
          3 ดัดแปลงเนื้อหาเป็นบทสนทนาสั้นๆ
          4 นำแบบประโยคในเพลง หรือนำประโยคดี ๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างทางไวยากรณ์
 
         5 หาคำใหม่มาแทนในเพลง หรือนำประโยคดี ๆ มาเป็นการฝึกโครงสร้างของไวยากรณ์
          6 แสดงท่าทางประกอบจังหวะ
          7 สนทนาซักถามเกี่ยวกับเนื้อเพลงเหมือนกับ ถาม-ตอบ ในการอ่านเพื่อความเข้าใจ
          8 เขียนเนื้อเพลงลงสมุด

          ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน
          ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน มีดังนี้
  (วราภรณ์ วราธิพร. 2543 : 21)  
          1 ทบทวนหรือแนะนำโครงสร้างไวยากรณ์ที่ปรากฏอยู่ในเพลง หรืออธิบายเนื้อหาของเพลงโดยใช้ทัศนอุปกรณ์
(visual Aids) หรือแสดงท่าทาง (action) และคำที่พ้องรูปหรือพ้องเสียง ตลอดจนคำที่สัมพันธ์กัน
          2 เปิดเพลง 1 รอบครั้งแรก เพื่อให้นักเรียนคุ้นเคย
          3 ก่อนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนเห็นเนื้อเพลงทั้งหมด ควรนำเสนอเพลงทีละบรรทัดร้องแต่ละบรรทัดและให้นักเรียนร้องตาม ควรบันทึกเพลงทิ้งช่วงแต่ละบรรทัด
          4 แจกเนื้อเพลงให้กับนักเรียน เปิดเพลงอีกครั้งตั้งแต่ต้น ในช่วงแรกให้นักเรียนอ่านเนื้อเพลงตามเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับจังหวะ ทำนอง จากนั้นเปิดเพลงหลาย ๆ ครั้ง และชักชวนให้นักเรียนร้องเพลงด้วย

          5 หลังจากที่นักเรียนสามารถจัดทำนองเนื้อเพลงได้แล้ว นักเรียนก็สามารถร้องไปกับดนตรีที่ไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะได้ ในช่วงแรกนักเรียนควรร้องเป็นกลุ่ม เมื่อมีความมั่นใจมากขึ้นจึงให้ร้องเป็นคู่ หรือร้องเดี่ยว การใช้ดนตรีไม่มีเนื้อร้องหรือคาราโอเกะนั้นสามารถนำมาใช้ได้อย่างหลากหลาย เช่น ให้นักเรียนแต่งเนื้อร้องเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
          6 นำเนื้อร้องมาสร้างกิจกรรม เปิดโอกาสให้นักเรียนทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับเพลง
 
เจียรนัย พงษ์ศิวาภัย (2539 : 105-106) ได้กล่าวถึงขั้นตอนการสอนเพลง มีองค์ประกอบ 3 ประการดังนี้ 

          1 การเลือกเพลง การเลือกเพลงถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะถ้าเพลงที่ใช้ในการเรียนไม่เหมาะสมผู้เรียนจะขาดความสนใจ ทำให้การเรียนการสอนไม่ประสบผลสำเร็จ ในการเลือกเพลงจะต้องคำนึงถึง
                   1.1 ระดับชั้น วัย และความสามารถของผู้เรียน
                   1.2 ความไพเราะ จังหวะของเพลง ไม่เร็ว หรือช้าเกินไป
                   1.3 ภาษาไม่ยาก คำที่อยู่ในเพลงชัดเจน และมีความหมาย
                   1.4 เป็นเพลงที่ผู้ฟังฟังแล้วเกิดความรู้สึก และจินตนาการใกล้เคียงกัน สามารถร้องตามได้ 

          2 การดำเนินการสอน การดำเนินการสอนมีหลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งสามารถปรับแต่งให้เข้ากับบรรยากาศของชั้นเรียนได้ ดังนี้
                   2.1 แต่เนื้อเพลงแล้วอธิบายศัพท์ สำนวนหรือโครงสร้างทางไวยากรณ์ที่จำเป็น
                   2.2 เปิดเพลงให้ฟังเป็นครั้งที่ 2 ถ้าต้องการให้ผู้เรียนทำท่าประกอบหรือร้องตาม  

                   2.3 ถามคำถามทั่ว ๆ ไป เพื่อให้ผู้เรียนมีโอกาสฝึกทักษะ ฟัง พูด เช่น
                             2.3.1 รู้สึกอย่างไรกับเพลงนี้
? (มีความสุข โกรธ ว้าเหว่ เสียใจ)
                             2.3.2 เพลงนำเสนอเกี่ยวกับอะไร
? (ความรัก สงคราม ความเข้าใจผิด) 

          3 การประเมินผล
                   3.1 เก็บเนื้อเพลงที่แจกไปครั้งแรกคืนมา แล้วแจกเนื้อเพลงที่ผู้สอนเตรียมเว้นคำที่เหมาะสมว่างไว้
 เพื่อให้นักเรียนเติมขณะที่เปิดเพลงให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง
                   3.2 ถามคำถามจากเนื้อหาของเพลง คำถามนี้อาจเป็นคำตอบปากเปล่า หรือแบบให้เลือกตอบ (
multiple choices) หรือแบบเติมคำหรือข้อความให้สมบูรณ์ (completion)
                   3.3 อาจเป็นคำถามปลายเปิด (
open-ended questions) เพื่อให้ผู้เรียนได้อภิปรายแสดงความคิดเห็น นักเรียนทุกคนต้องพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนความคิดเห็นของตน โดยไม่มีการตัดสินว่าความคิดเห็นของนักเรียนคนใดผิดหรือของคนใดถูก และผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยควบคุมชั้นเรียนเท่านั้น

ข้อค้นพบจากการวิจัย
          การจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง มีข้อค้นพบจากการวิจัย ดังนี้

          1 การฟังและการออกเสียง Sumie (2001) ได้นำเพลงไปใช้กับนักเรียนอาชีวะที่ต้องการสอบภาษาอังกฤษเพื่อรับใบประกาศทางภาษา  TOEIC พบว่า การฟังเพลงเป็นวิธีการที่ดีในการฝึกฟัง เพื่อการออกเสียงให้ถูกต้อง นอกจากนี้เพลงยังเป็นสื่อที่กระตุ้นให้นักเรียนต้องการเรียนภาษาอังกฤษจากการฟังเพลงและเรียนด้วยความสนุกสนาน ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้าที่ไม่ได้ใช้เพลง 

          2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการสอน พันธ์ศรี สิทธิชัย (
2529 : 46) ได้วิจัยกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนที่โรงเรียนโดยใช้เพลงประกอบการสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติเชิงนิมานต่อการสอนด้วยวิธีการใช้เพลงประกอบการสอน สุปราณี กัลปนารถ (2533 : 40) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนวิชาภาษาไทยโดยใช้บทเพลงประกอบการสอน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนภาษาไทยโดยไม่ใช้เพลงประกอบการสอน และรองเนือง ศุขมิติ (2537 : 47) ได้ศึกษาผลของการใช้เพลงเสริมบทเรียนวิชาภาษาอังกฤษกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่สอนโดยใช้เพลงเสริม มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่านักเรียนที่สอนตามคู่มือครูอย่างมีวินัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

          3 แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและความสามารถด้านการฟังและการพูด วิราภรณ์ วราธิพร (
2543 : 47) ได้ศึกษาการใช้เพลงประกอบการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โปรแกรมสองภาษา พบว่า นักเรียนมีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษโดยการใช้เพลงประกอบการสอนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 ความสามารถด้านการฟังและพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 24



          ณัฐพร ขุนเศรษฐ์ (2553) ได้กล่าวว่า เพลง หมายถึง สำเนียงขับร้อง หรือทำนองดนตรี และเทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน หมายถึง กลวิธีต่างๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟังเพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน

          1. เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
          2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
          3. เพื่อสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
          4. เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

ประโยชน์ของเพลงประกอบการเรียนการสอน

          1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
          2. ช่วยให้บทเรียนที่ดูยากดูง่ายขึ้น
          3. จดจำเนื้อหาที่เรียนได้นาย
          4. สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน
          5. ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจ
          6. สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้
          7. เสริสร้างระเบียบวินัย
          8. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน

ลักษณะของเพลงประกอบการสอน

          1. เป็นทำนองเพลงลูกทุ่งที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องติดปากแล้ว
          2. แต่งเป็นบทร้อยกรองกลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11 แล้วนำมาใส่ทำนองเป็นเพลงไทยเดิม
ที่สนุกสนาน

          3. มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
          4. เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อร้องสั้นๆ ไม่ยาวจนเกินไป
          5. เน้นความไพเราะสนุกสนานเปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนไม่ให้เคร่งเครียด
          6. หลังจากร้องเพลงเสร็จแล้ว จะมีการอภิปรายเกี่ยวกับเนือหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง

          การใช้เพลงประกอบการเรียนการสอนนั้น ครูจะต้องคำนึงถึงเนื้อหาของบทเพลงที่เหมาะสมกับวัยและความต้องการของนักเรียน ศิริพร หงส์พันธ์ (2540 : 257-256 ) กล่าวว่า ในต่างประเทศมีผู้ให้ความเห็นว่า เด็กจะรู้สึกสนุกสนานที่ได้ร้องเพลง ดังต่อไปนี้
          1. บทเพลงเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียง
          2. บทเพลงเกี่ยวกับคน โดยเฉพาะเพลงที่เด็กๆ สามรถเติมชื่อของตนเอง หรือชื่อของเพื่อนๆลงไปได้
          3. บทเพลงที่เด็กได้มีโอกาสได้ปรบมือ ทำจังหวะ และแสดงท่าทางต่างๆ
          4. บทเพลงที่กำลังเป็นที่นิยม ซึงได้ยินจากโทรทัศน์ วิทยุ หรือ จากการชมภาพยนตร์
          5. บทเพลงเกี่ยวกับราชการเทศบาล ฤดูกาล และวันพักผ่อนต่างๆ

เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน

          1. การใช้นำเข้าสู่บทเรียน เพื่อเป็นการจูงใจและหันเหความสนใจของนักเรียนให้มาสู่บทเรียนที่ครูกำลังจะสอน เช่น จะสอนเรื่องอักษร ควรนำด้วยเพลงอักษรย่อรอเธอ เป็นเพลงที่ดัดแปลงมาจากเพลงลูกทุ่งรักห้าปี
          2. การใช้เพลงดำเนินการสอน จะใช้เพลงเป็นตัวหลักสำคัญในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
          3. การใช้เพลงในการสรุปบทเรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนเป็นการย้ำซ้ำเตือนอีกครั้งหนึ่ง เช่น ได้สอนเรื่องชนิดของคำไปแล้วต้องสรุปเนื้อหา ก็ใช้เพลงคำนาม คำสรรพนาม คำวิเศษณ์ คำกริยา คำบุพบท คำสันธาน และคำอุทาน เป็นต้น
          4. ใช้เพลงสำหรับฝึก ซึ่งจะเป็นการฝึกให้ออกเสียงหรือย้ำให้เกิดความแน่ใจอีกครั้งหนึ่ง เช่นการสอนคำใหม่
          5. ใช้เพลงในการวัดและการประเมินผล โดยการใช้เพลงเป็นส่วนประกอบในการวัด เช่น นักเรียนเรียนเรื่องคำซ้อน ซึ่งนอกจากจะใช้เพลงคำซ้อนในการสรุปเนื้อแล้ว ก็ยังสามารถใช้เพลงนั้เป็นส่วนหนึ่งในการประเมินความรู้ของนักเรียนอย่างต่อเนื่องได้อีกด้วย



         ธีรพร เว้นชั่ว (2558) ได้กล่าวว่า การใช้เพลงประกอบการสอน หมายถึง กลวิธีต่าง ๆ ที่ครูใช้สำเนียงขับร้องและทำนองดนตรีมาให้นักเรียนได้ร้องหรือครูร้องให้นักเรียนฟัง เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมการเรียนการสอน

วัตถุประสงค์ของการใช้เพลงประกอบการสอน

          1. เพื่อสร้างบรรยากาศที่สนุกสนานไม่เครียดและเอื้อต่อการเรียนรู้
          2. เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
          3. เพื่อสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ผ่านทางเนื้อร้องและความหมายของเพลง
          4. เพื่อช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้

ลักษณะของเพลงประกอบการสอน

          1. เป็นทำนองเพลงที่นักเรียนสามารถฟังจนติดหู หรือร้องจนติดปากแล้ว
          2. บทเพลงที่นักเรียนมีโอกาสปรบมือ ทำจังหวะ และท่าทางต่างๆ
          3. แต่งเป็นบทร้อยกรอง กลอนสุภาพ หรือกาพย์ยานี 11
          4. บทเพลงเกี่ยวกับบ้านและโรงเรียน หรือเกี่ยวกับคน
          5. เน้นความไพเราะสนุกสนาน
          6. มีเนื้อหาของเรื่องที่จะสอนสอดแทรกไว้ในเพลงทุกเพลง
          7. มีเนื้อหาที่ไม่หยาบคาย
          8. เพลงที่ใช้ส่วนใหญ่มีเนื้อหาสั้น ๆ ไม่ยาวจนเกินไป
          9. สนุกสนาน กระตุ้นและเร้าใจ
          10. หลังจากร้องเพลงจบแล้ว จะมีการอธิบายเกี่ยวกับเนื้อหาหรือปัญหาที่น่าคิดจากเนื้อเพลง

ประโยช์ของเพลงประกอบการสอน 

          1. ก่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
          2. ช่วยให้บทเรียนที่ดูยากดูง่ายขึ้น
          3. จดจำเนื้อหาที่เรียนได้นาน
          4. สร้างแรงจูงใจให้กับผู้เรียน
          5. ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจ
          6. สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียนรู้        
          7. เสริมสร้างระเบียบวินัย
          8. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของนักเรียน

เทคนิคการใช้เพลงประกอบการสอน
          ในการใช้เพลงประกอบการสอนนั้น ครูอาจจะใช้ในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นทำกิจกรรมการเรียนการสอน หรือขั้นสรุปก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและดุลยพินิจของครู และในการร้องเพลงครูอาจเป็นคนร้องหรือให้นักเรียนร้อง หรือเปิดเทปบันทึกเสียงให้ฟังก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมสนทนาถึงสาระสำคัญของเนื้อเพลง หรือข้อคิดข้อเตือนใจที่ได้จากเพลง หรือให้นักเรียนทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหลังจากที่ได้ฟังเพลงแล้วด้วยก็ได้

ขั้นตอนการสอนเพลงประกอบการเรียนการสอน

          1. จัดเตรียมเพลงที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
          2. เริ่มบทเรียนก่อนหรือให้ผู้เรียนฟังเพลงก่อน เพื่อเร้าความสนใจ
          3. เริ่มการฝึกผู้เรียนให้ร้องเพลง ผู้เรียนมีการตอบสนองต่อเพลง และร้องตามได้
          4. ให้ผู้เรียนร้องเพลงร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนุกสนานเสริมแรงการเรียนรู้
          5. ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นจากเพลง เกิดความสนุกสนานตรงตามเป้าหมาย



สรุป
          จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลง ครูสามารถใช้ได้ทั้งในขั้นตอนนําเข้าสู่บทเรียนดำเนินการสอน การให้ผู้เรียนปฏิบัติ สรุปบทเรียน และการวัดผลการเรียนรู้ ซึ่งครูจะต้องเลือกเพลงให้เหมาะสมกับแต่ละขั้นตอนของกิจกรรมการเรียนการสอน ในการสอนนักเรียนให้ร้องเพลงนั้น ต้องไม่คาดหวังสูงเกินไป
ว่านักเรียนจะร้องเพลงได้ดีเหมือนกันทุกคน และควรเป็นเพลงที่เกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเห็นในชีวิตประจำวัน หรือเกี่ยวข้องกับตัวนักเรียนเอง โดยครูร้องให้ฟังก่อน 1-2 เที่ยว เพื่อให้นักเรียนได้ฟังทำนองจังหวะ เนื้อร้อง หรือจับเค้าเพลงที่ร้องให้ได้ก่อน แล้วให้นักเรียนร้องตามทีละวรรค จากนั้นครูต้องร้องพร้อมกับนักเรียนจนกระทั่งนักเรียนร้องได้ด้วยตัวเอง และอาจใช้เทปช่วยในการสอนร้องเพลง นอกจากนี้ครูใช้ท่าทาง น้ำเสียง และอารมณ์ที่สอดคล้องกับบทเพลงรวมทั้งควบคุมจังหวะเพลง โดยการปรบมือหรือตีกลอง



ที่มา:
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้ที่ 2).   
       กรุงเทพฯ : แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
ณัฐพร ขุนเศรษฐ์. (2553). http://tang49e101050.blogspot.com/p/blog-page_6581.html. [ออนไลน์] 

        เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2561.
ธีรพร เว้นชั่ว. (2558)https://www.slideshare.net/PrincessMind/ss-53694940. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่ 
       22 สิงหาคม 2561.



         


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

           มณีรัตน์ สุดเต้ ( 2557)   ได้กล่าวว่า นวัตกรรม ( Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาตินแปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความ...