ทิศนา แขมมณี
(2547 : 80-85) ได้กล่าวว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลไว้ดังนี้
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี
ค.ศ. 1950 จวบจนปัจจุบัน โดยมรผู้เรียกชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น
ทฤษฎีการประมวลข้อมูลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลข้อมูลสารสนเทศ ฯลฯ
ในที่นี้ผู้เขียนขอเรียกว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพราะคิดว่า
มีความหมายตรงกับทฤษฎีและเข้าใจง่าย ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า
การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ คลอสเมียร์
(Klausmeier, 1985: 52-108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง
ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ
1. การรับข้อมูล (input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2. การเข้ารหัส (encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
(software)
3. การส่งข้อมูลออก (output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
คลอสเมียร์ ได้อธิบายกระบวนการประมวลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น
ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการคือ
การรู้จัก (recognition) และความใส่ใจ (attention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ
สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (short-term memory) ซึ่งจะดำรงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก
แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด
ในการทำงานที่จำเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ
ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง
ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำสิ่งนั้นไว้ใช้งานได้ การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง
สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส (encoding)
เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (long term memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เข้าช่วย เช่น การท่องซ้ำหลายๆ ครั้ง
หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง ความจำระยะยาวนี้มี
2
ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์
(episodic) นอกจากนั้นยังอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความจำประเภทกลไกที่เคลื่อนไหว (motoric memory) หรือความจำประเภทอารมณ์ ความรู้สึก (affective memory) เมื่อข้อมูลข่าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว
บุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่าง ๆ ออกมาใช้ได้
กระบวนการรู้คิดในกรอบทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล (metacognitive
knowledge) ประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับบุคคล (person) งาน (task) และกลวิธี (strategy)
1. ความรู้เกี่ยวกับบุคคล (person) ประกอบไปด้วยคงามรู้ความเชื่อเกี่ยวกับความแตกต่างภายในตัวบุคคล
ความแตกต่างระหว่างบุคคล และลักษณะสากลของกระบวนการรู้คิด
2. ความรู้เกี่ยวกับงาน (task) ประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับขอบข่ายของงาน
ปัจจัยเงื่อนไขของงาน และลักษณะของงาน
3. ความรู้เกี่ยวกับกลวิธี (strategy) ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับกลวิธีการรู้
คิดเฉพาะด้านและโดยรวม และประโยชน์ของกลวิธีนั้นที่มีต่องานแต่ละอย่าง
ในลักษณะที่คล้ายคลึงกัน
แพริสและคณะ (1983) ได้จำแนกความรู้ในเชิงเมตาคอคนิชั่นออกเป็น
3 ประเภท เช่นเดียวกัน ได้แก่
1. ความรู้ในเชิงปัจจัย (declarative knowledge) คือ ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่องาน
2. ความรู้เชิงกระบวนการ (procedural knowledge) คือ ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการต่าง ๆ ในการดำเนินงาน
3. ความรู้เชิงเงื่อนไข (conditional knowledge) คือ ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ ข้อจำกัด เหตุผล
และเงื่อนไขในการใช้กลวิธีต่าง ๆ และการดำเนินงาน
ข.
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการเรียนการสอน
ทฤษฎีที่กล่าวไว้ข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอนหลายประการดังนี้
1. เนื่องจากการรู้จัก (recognition) มีผลต่อการรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อนเราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น
และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำต่อไป การที่บุคคลจะรู้จักสิ่งใดก็ย่อมหมายความว่า
บุคคลรู้หรือเคยมีประสบการณ์กับสิ่งนั้นมาก่อน
ดังนั้นการนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่แล้วจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่อมโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้
2. เนื่องจากความใส่ใจ (attention) เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับรู้ข้อมูลเข้ามาไว้ในความจำระยะสั้น
ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและเราคือสิ่งนั้น
และนำไปเก็บบันทึกไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
3. เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านการรับรู้แล้ว
จะถูกนำไปเก็บไว้ในความทรงจำระยะสั้น ซึ่งนักจิตวิทยาการศึกษาพบว่า จะคงอยู่เพียง 15 ถึง 30 วินาทีเท่านั้น
ดังนั้นหากต้องการที่จะจำสิ่งนั้นนานกว่านี้ เพราะจำเป็นต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ช่วย
เช่น การท่องซ้ำกันหลายๆครั้ง หรือการจัดสิ่งที่จำให้เป็นหมวดหมู่ ง่ายแก่การจำ
เป็นต้น
4. หากต้องการจะให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ
ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว
วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำ ๆ การทบทวน
5. ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว
สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน "effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ
ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดเห็นภายในออกมาเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้
6. เนื่องจากกระบวนการต่าง ๆ
ของสมองหลักการควบคุมโดยหน่วยบริหารควบคุมอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งเปรียบได้กับโปรแกรมสั่งงานซึ่งเป็น
“software” ของเครื่องคอมพิวเตอร์
ดังนั้นการที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญญาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่าง
ๆ อันจะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้ได้ เช่น
หากผู้เรียนรู้ตัวว่าเรียนวิชาใดวิชาหนึ่งไม่ได้ดี เพราะไม่ชอบครูที่สอนวิชานั้น
ผู้เรียนก็อาจหาทาง ปัญหานั้นได้ โดยสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง
หรือใช้เทคนิคกลวิธีต่าง ๆ เข้าช่วย
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลนี้ แม้จะได้รับความสนใจมาแล้วกว่า 50
ปี แต่ก็ยังคงได้รับความนิยมอยู่ในปัจจุบัน
และกำลังมีการศึกษาค้นคว้าอย่างต่อเนื่องเพื่อแสวงหาความรู้เพิ่มเติมขึ้นอีก
สยุมพร ศรีมคุณ (2555) ได้กล่าวว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
(Information
Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกักระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า
การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานขอคอมพิวเตอร์ หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย หาต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ ได้เป็นเวลานาน
สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
ชุติมา สดเจริญ (2556) ได้กล่าวว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
(Information
Processing Theory)
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลผลข้อมูล
เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
เกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฎีเริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1950
จนถึงปัจจุบัน ชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น ทฤษฎีประมวลสารข้อมูลข่าวสาร
ทฤษฎีการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศ ในที่นี้
จะใช้เรียกว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
ทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่า
การทำงานของสมองมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:108) ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมอง
ซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้ คือ
1.
การรับข้อมูล (Input) โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.
การเข้ารหัส (Encoding) โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์
(Software)
3.
การส่งข้อมูลออก (Output) โดยผ่านทางอุปกรณ์
คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:105)
ได้อธิบายการประมวลผลข้อมูลโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง
5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น ซึ่งการบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ
2 ประการ คือ การรู้จัก (Recognition) และความสนใจ (Atention)
ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า
บุคคลจะเลือกรับสิ่งเร้าที่ตนรู้จักหรือมีความสนใจ
สิ่งเร้านั้นจะได้รับการบันทึกลงในความจำระยะสั้น (Short-Term Memory) ซึ่งดำรงคงอยู่ในระยะเวลาที่จำกัดมาก
แต่ละบุคคลมีความสามารถในการจำระยะสั้นที่จำกัด
ในการทำงานที่จะเป็นต้องเก็บข้อมูลไว้ใช้ชั่วคราว อาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ
ในการจำช่วย เช่น การจัดกลุ่มคำ หรือการท่องซ้ำ ๆ
ซึ่งจะสามารถช่วยให้จดจำไว้ใช้งานได้การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวลและเปลี่ยนรูปโดยการเข้ารหัส
(Encoding) เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว (Long
Term Memory) ซึ่งอาจต้องใช้เทคนิคต่าง ๆ เช่น การท่องซ้ำหลาย ๆ
ครั้ง หรือการทำข้อมูลให้มีความหมายกับตนเอง โดยการสัมพันธ์สิ่งที่เรียนรู้สิ่งใหม่กับสิ่งเก่าที่เคยเรียนรู้มาก่อน
ซึ่งเรียกว่า เป็นกระบวนการขยายความคิด (Elaborative Operations Process) ความจำระยะยาวนี้มี 2 ชนิด คือ ความจำที่เกี่ยวกับภาษา (Semantic) และความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ (Affective Memory) เมื่อข้อมูลข่าวสารได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะยาวแล้ว
บุคคลจะสามารถเรียกข้อมูลต่าง ๆ ออกมาใช้ได้ ซึ่งในการเรียกข้อมูลออกมาใช้
บุคคลจำเป็นต้องถอดรหัสข้อมูล (Decoding) จากความจำระยะยาว
และส่งต่อไปสู่ตัวก่อกำเนิดพฤติกรรมตอบสนอง
ซึ่งจะเป็นแรงขับหรือกระตุ้นให้บุคคลมีการเคลื่อนไหว หรือการพูดสนองตอบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง
ๆ กระบวนการของการประมวลข้อมูลของมนุษย์
กระบวนการสมองในการประมวลข้อมูล
หากเปรียบเทียบกับคอมพิวเตอร์แล้ว ก็คือ โปรแกรมสั่งงาน หรือ “Software”
การบริหารควบคุมการประมวลข้อมูลของสมองคือการที่บุคคลรู้ถึงการคิดของตนและสามารถควบคุมการคิดของตนให้เป็นไปในทางที่ตนต้องการ
การรู้ เรียกว่า “Metacognition” หรือ “การรู้คิด” หมายถึง
การตระหนักรู้ (Awareness) เกี่ยวกับความรู้และความสามารถของตน
และใช้ความเข้าใจในการรู้การจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่าง ๆ
ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ
องค์ประกอบสำคัญของการรู้คิดที่ใช้ในการบริหารควบคุมกระบวนการประมวลข้อมูล
ประกอบด้วยแรงจูงใจ ความตั้งใจ และความมุ่งหวังต่าง ๆ รวมทั้งเทคนิคและกลวิธีต่าง
ๆกระบวนการรู้คิด ประกอบด้วย ความใส่ใจ (Attention) การรับรู้ (Perception)กลวิธีต่าง ๆ (Strategies) เช่น
รู้ว่าตนไม่สามารถจดจำสิ่งที่ครูสอนได้ เราคิดหากลวิธีต่าง ๆ
ที่จะมาช่วยให้จดจำสิ่งที่เรียนได้มากขึ้น อาจใช้วิธีการท่อง การจดบันทึก
การท่องจำเป็นกลอน การท่องตัวย่อ การทำรหัส การเชื่อมโยงในสิ่งที่สัมพันธ์กัน
เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอน
1. การรู้จัก มีผลต่อการรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน เราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำต่อไป ดังนั้น การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่ แล้วจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่องโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้
2. ความใส่ใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับข้อมูลเข้ามาไว้ในความจำระยะสั้น ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บบันทึกไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
3. หากต้องการจะให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำ ๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด ได้แก่ การเรียบเรียง ผสมผสาน ขยายความ และการสัมพันธ์ความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
4. ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน “Effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ (Vocal and Motor Response Generator) ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ การที่บุคคลไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บไว้ได้ อาจจะเป็นเพราะไม่สามารถเรียกข้อมูลให้ขึ้นถึงระดับจิตสำนึกได้ (Conscious Level) หรือเกิดการลืมขึ้น
5. การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญหาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่าง ๆ อันจะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้
1. การรู้จัก มีผลต่อการรับรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หากเรารู้จักสิ่งนั้นมาก่อน เราก็มักจะเลือกรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำต่อไป ดังนั้น การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่ แล้วจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น ซึ่งผู้สอนสามารถเชื่องโยงไปถึงสิ่งใหม่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้
2. ความใส่ใจ เป็นองค์ประกอบสำคัญต่อการรับข้อมูลเข้ามาไว้ในความจำระยะสั้น ดังนั้น ในการจัดการเรียนการสอน จึงควรจัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน เพราะจะช่วยให้ผู้เรียนใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น และนำไปเก็บบันทึกไว้ในความจำระยะสั้นต่อไป
3. หากต้องการจะให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำ ๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด ได้แก่ การเรียบเรียง ผสมผสาน ขยายความ และการสัมพันธ์ความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
4. ข้อมูลที่ถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำระยะสั้นหรือระยะยาวแล้ว สามารถเรียกออกมาใช้งานได้โดยผ่าน “Effector” ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นพฤติกรรมทางวาจาหรือการกระทำ (Vocal and Motor Response Generator) ซึ่งทำให้บุคคลแสดงความคิดภายในออกเป็นพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ การที่บุคคลไม่สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่เก็บไว้ได้ อาจจะเป็นเพราะไม่สามารถเรียกข้อมูลให้ขึ้นถึงระดับจิตสำนึกได้ (Conscious Level) หรือเกิดการลืมขึ้น
5. การที่ผู้เรียนรู้ตัวและรู้จักการบริหารควบคุมกระบวนการทางปัญหาหรือกระบวนการคิดของตนก็จะสามารถทำให้บุคคลนั้นสามารถสั่งงานให้สมองกระทำการต่าง ๆ อันจะทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ได้
สรุป
จากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลสรุปได้ว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
(Information Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่เกี่ยวกักระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
โดยมีขั้นตอนนในการทำงานดังนี้ การรับข้อมูล (Input) การเข้ารหัส (Encoding) และการส่งข้อมูลออก (Output)
ซึ่งการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น การบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก (Recognition)
และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า
โดยมีขั้นตอนนในการทำงานดังนี้ การรับข้อมูล (Input) การเข้ารหัส (Encoding) และการส่งข้อมูลออก (Output)
ซึ่งการประมวลผลข้อมูลจะเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น การบันทึกนี้จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การรู้จัก (Recognition)
และความสนใจ (Atention) ของบุคคลที่รับสิ่งเร้า
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้
คือ
การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน
สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธี
การที่หลากหลาย หาต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ
การที่หลากหลาย หาต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใด ๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส (encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การท่องจำซ้ำๆ
การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
ที่มา:
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยุมพร ศรีมคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่
25 กรกฎาคม 2561.
ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่
25 กรกฎาคม 2561.
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สยุมพร ศรีมคุณ. (2555). https://www.gotoknow.org/posts/341272. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่
25 กรกฎาคม 2561.
ชุติมา สดเจริญ. (2556). https://www.gotoknow.org/posts/547007. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อวันที่
25 กรกฎาคม 2561.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น